Art
Criticism
การวิจารณ์ศิลปะตามคำนิยามของ
Encyclopedia of world art
การวิจารณ์ศิลปะนั้น ก็เป็นกระบวนการที่เราใช้ตัดสิน
เกี่ยวกับคุณภาพของศิลปะ และผลของการวิจารณ์
ก็เป็นส่วนหนึ่งในการวิจารณ์ศิลปะด้วยดังนั้น
ทั้งกระบวนการ และ ผล จึงต้องรวมอยู่ในการวิจารณ์ศิลปะด้วย
คือ เมื่อเราได้ชมหรือเห็น ผลงานศิลปะ
เมื่อดูไป ดูมาแล้วสักพักหนึ่ง ก็เกิดการวิจารณ์ออกมา
ถ้าเราไปดูคนเดียว เราก็จะวิจารณ์งานโดยการคิดในใจ
ซึ่งนั่นก็เป็นการกระทำที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ
แล้วถ้าเราไปกับเพื่อน เราก็จะวิจารณ์โดยการพูดออกมา
เล่าสู่กันฟัง ซึ่งเพื่อนก็จะร่วมวิจารณ์ด้วย
ก็เป็นการแลกเปลี่ยนการวิจารณ์ และ ทัศนคติต่อกัน
อีกรูปแบบ เมื่อได้รับรู้คำวิจารณ์แล้ว
ว่าชอบ หรือ ไม่ชอบ ดี หรือ ไม่ดี เพียงใด
เราก็จะสรุปออกมาเป็นผลของการวิจารณ์
ว่าศิลปะชิ้นนั้นได้ให้อะไรแก่เรา แม้บางครั้งอาจจะไม่ตรงกับเพื่อน
แต่มันก็เป็นทัศนะ ตามความเชื่อ ของแต่ละบุคคลที่มีสิทธิ์
ที่จะวิจารณ์
การวิจารณ์ศิลปะ
และพฤติกรรม ที่เป็นการวิจารณ์ ในชีวิตประจำวัน
การวิจารณ์ศิลปะ ที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสัมผัสอยู่เสมอนั้น
ก็คือ การวิจารณ์ของอาจารย์ในชั้นเรียน
วิชาเอกภาพพิมพ์ ซึ่งต้องเข้าไปพบอาจารย์อยู่ทุกอาทิตย์
โดยนักเรียนแต่ละคนจะเอางานของตนเอง แปะที่บอร์ด
แล้ว Present ให้อาจารย์ดู ซึ่งอาจารย์ในห้องนั้น
ก็มีด้วยกันหลายคน ทำให้เมื่ออาจารย์ได้ดูงาน
ก็เกิดการวิจารณ์ตามว่า ผลงานของเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง
ดี หรือ ไม่ดี ผลงานออกมาตามที่เราคิดไว้หรือเปล่า
เทคนิค วิธีการ อารมณ์ สามารถตอบสนองความคิดของเราได้ไหม
ดี หรือ ไม่ดี เพียงใด อาจารย์ก็จะว่าออกมาตรงๆ
ซึ่งมีอาจารย์หลายท่านช่วยกันวิจารณ์ในห้อง
ทำให้เห็นมุมมองของอาจารย์แต่ละคน ว่ารู้สึกกับงานของเราอย่างไร
อาจารย์บางครั้งก็พูดไปในทิศทางเดียวกัน
บางคนก็ขัดแย้งออกมา แต่ก็สามารถสะกิดชี้ให้เราได้เห็น
ในมุมมองที่แปลกใหม่ได้ เมื่ออาจารย์ได้ชี้แนะนำออกมาอย่างไร
เราก็จะประมวล แล้วเอามากลั่นกรองว่า อาจารย์ได้ให้อะไรแก่เรา
อันไหนที่ดี อันไหนที่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้
อันไหนที่ไม่ดี เราก็สามารถเอามาปรับปรุง
ให้งานของเรามีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ โดยข้าพเจ้าได้ใช้การจดบันทึก
ถ้อยคำต่างๆ ซึ่งเอามาคิดทบทวนพิจารณาอีกทีว่า
เราได้อะไรจากการวิจารณ์ของอาจารย์ ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มอาจารย์ภาพพิมพ์เท่านั้นที่วิจารณ์งาน
แต่มันก็เป็นเหมือนกับมาตราฐาน เป็นแนวทางของศิลปะภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากรไปในตัว อาจารย์พยายามที่จะรักษา
มาตราฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี พยายามให้อยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์
ให้ผลงานออกมามีคุณภาพ
คุณสมบัติ
และหน้าที่ ของนักวิจารณ์ศิลปะ ตามคำบรรยายของ
Mondre Beardsley และ Harold Rosenberge
คุณสมบัติและหน้าที่ของนักวิจารณ์ศิลปะนั้น
ตามที่ Beardsley ได้แบ่งโมเดลไว้ ก็มีอยู่
2 แบบ คือ แบบ CU critic ซึ่งจะทำการช่วยเหลือผู้บริโภค
ในการซื้อสินค้า คือ จะบอกข้อดี ข้อเสีย
เป็นการตัดสินและประเมินไปเลย ส่วนแบบ PA
critic จะเป็นการช่วยเหลือผู้ผลิต คือ พยายามที่จะเตรียมผู้บริโภค
ให้ยอมรับและรู้ถึงสิ่งแปลกใหม่ ที่ได้ผลิตออกมา
ให้เปิดใจกว้าง ต่อผู้ผลิตที่นำเสนอ แต่จะไม่เป็นการตัดสิน
จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค ใช้พิจารณญาณ คิดเอาเอง
ว่าดี หรือ ไม่ดี จะยอมรับได้หรือไม่
แต่ Beardsley ก็ชอบโมเดล CU critic ซึ่งมีผู้ขัดแย้งว่า
มันใช้ไม่ได้กับวงการวิจารณ์งานศิลปะ ซึ่งตัวศิลปะเองมันไม่ชัดเจน
มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเอาหลักเกณฑ์อะไรมาวัด
แต่ Beardsley ก็บอกว่างานศิลปะมันชัดเจน
คือ ต้องมีสุนทรียภาพ องค์ประกอบศิลป์อยู่ในนั้น
แล้วในปัจจุบันนี้ล่ะ มันใช้ได้จริงหรือ
กับสิ่งที่เปลี่ยนอยู่ตลอด ของวงการศิลปะ
แล้วเราจะประเมินได้อย่างไร ว่าดี หรือ
ไม่ดี
ส่วน Rosenberge นั้น ก็พูดถึงนักวิจารณ์ที่มีความเชื่อ
รสนิยม มุมมอง ของแต่ละคนในการประเมิน ว่า
ถ้าคนนี้ใช้มาตราฐานตามสิ่งที่เขาเชื่อมาวิจารณ์งานศิลปะ
อาจจะใช้ไม่ได้กับมาตราฐานที่เขามีไว้ก็ได้
เพราะในเมื่องานศิลปะมันเปลี่ยน ทฤษฎีที่เขามีความเชื่อ
อาจจะใช้ไม่ได้ ล้าสมัย กับศิลปะที่เกิดขึ้นใหม่
เป็นทฤษฎีในอดีตเท่านั้น ต้องมองไปในศิลปะปัจจุบัน
ที่เรากำลังสัมผัสอยู่ แล้วจะหาทฤษฎีใหม่
มาใช้กับศิลปะสมัยใหม่อย่างไร ซึ่งถ้าจะเป็นนักวิจารณ์นั้น
ก็ต้องเปิดกว้าง รับรู้ และยอมรับสิ่งแปลกใหม่
เมื่อเราได้รับรู้และเข้าใจ ในสิ่งใหม่
ก็จะทำให้เราเข้าใจศิลปะในอดีตไปด้วย ซึ่งศิลปะเมื่อเราได้รับรู้และเข้าใจ
ก็จะเกิดการวิจารณ์ ตีความหมาย และทำให้ทฤษฎีใหม่เกดขึ้นมาได้
และสิ่งที่วิจารณ์นั้น จะต้องเกี่ยวกับศิลปะ
เกี่ยวข้องกับงานที่เรากำลังพูดอยู่ด้วย
แต่ทั้ง Beardsley และ Rosenberge คิดคล้ายกันนั้น
ก็คือ การวิจารณ์นั้น มีอำนาจที่จะชักชวน
ให้เกิดแนวโน้มและสิ่งที่ตามมา ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน
ข้าพเจ้าคิดว่าคุณสมบัติ และ หน้าที่ ของนักวิจารณ์ที่ข้าพเจ้าเคยได้เห็นมานั้น
ก็มีทั้งของ Beardsley (CU และ PA) แบบของ
Rosenberge ก็มี
แต่ถ้าจะพูดถึงนักวิจารณ์ในยุคปัจจุบันนี้แล้ว
หน้าที่ของเขาคืออะไร ข้าพเจ้าคิดว่านักวิจารณ์จะสามารถให้อะไรที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้ที่ต้องการรู้มากกว่า อาจจะมีทั้งวิจารณ์ในแง่ดี
หรือ ไม่ดี แต่ก็สามารถทำให้เห็นมุมมอง
และ โลกทัศน์ของผู้อื่น ว่าเป็นอย่างไรต่อวงการศิลปะ
ซึ่งมันก็อยู่ที่ระดับความรู้ ของผู้ที่ต้องการรู้ด้วย
เช่น ถ้าเราเป็นนักเรียนศิลปะ เราก็พอจะรู้ว่า
ที่เขาวิจารณ์นั้น ดี หรือ ไม่ดี เพียงไร
จากประสบการณ์ที่เรามีมา แต่ถ้าคนที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะ
เมื่อได้อ่านบทวิจารณ์ ก็อาจจะเชื่อผู้วิจารณ์ว่างานชิ้นนั้น
ดี หรือ ไม่ดี ก็ได้ ตามที่นักวิจารณ์ทำให้มีผลต่อมุมมองของคนที่โดนชักชวนเช่นกัน
ข้าพเจ้าคิดว่านักวิจารณ์ศิลปะ ควรจะมีใจเป็นกลางในการวิจารณ์
ไม่ตัดสินออกไปเลยว่า งานชิ้นนี้ดี หรือ
ไม่ดี เพราะมันคืองานศิลปะ มันเป็นอะไรก็ได้
มันไม่ใช่ว่าจะวัดกันง่ายๆ แค่การตัดสินใจ
การประเมินคุณค่า ของคนๆเดียว กลุ่มเดียว
แต่อยู่ที่ว่าบริบทของมัน จะเป็นอย่างไรมากกว่า
และมันจะพัฒนาต่อไปอย่างไร เพราะมันไม่หยุดนิ่ง
การวิจารณ์ไม่ได้เพื่อชักชวนให้เชื่อ หรือ
เป็นแฟชั่นให้คนมาติดตาม แต่มันอยู่ที่เนื้อหา
การตีความ ผลของการวิจารณ์มากกว่า ว่าให้อะไรแก่เรา
ให้การรับรู้และสื่อสาร ให้คนที่ต้องการรู้
เข้าใจมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะใช้ทั้งเหตุผล
และ อารมณ์ เป็นตัวประเมิน แต่ที่สำคัญนักวิจารณ์จะต้องเปิดใจ
ให้กว้าง ต่อศิลปะแบบใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ พร้อมที่จะยอมรับและให้โอกาส
ไม่ยึดติดกับสิ่งเก่า และ ความเชื่อของตนเอง
ว่าจะต้องถูกเสมอไป แต่บางเรื่องที่ศิลปะมันมากเกินไป
ก็สามารถว่ากล่าว เสนอข้อคิดเห็น ขัดแย้งออกมาได้
แต่ก็ต้องไม่ใช่ในเชิงสรุปตายตัว ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการรู้
สามารถคิดและพิจารณาได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์
หรือ ติเพื่อก่อก็ตาม แต่มันก็เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติ
เพื่อให้ความรู้ และพัฒนาต่อไปได้ แก่วงการศิลปะ
ไม่ว่าทั้งเก่าและใหม่ เหมือนกับสายน้ำที่ไหลมาแทนที่
หมุนเวียนเปลี่ยนไป แต่ก็ยังคงเป็นแม่น้ำสายเดิม