ศิลปะที่เป็นของปลอม


สุนทรียภาพ และคุณค่าทางศิลปะของงานศิลปะที่เป็นของปลอม

ตามที่ได้ศึกษามาก็คือว่า ถ้าเราเกิดทราบว่า งานศิลปะที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ มันเป็นของปลอม ของไม่จริงขึ้นมา เราจะเอามันไปทิ้ง เอามันออกไปเลยอย่างนั้นหรือ? ทั้งที่เมื่อก่อนเราไม่รู้ เราชื่นชม เราเห็นคุณค่า แต่เมื่อเรารู้ว่าไม่ใช่ของจริง แล้วมันไม่มีค่าเลยหรือ?
ถ้าเราจะพูดถึงด้านสุนทรียภาพ Aesthetic quality นั้น เช่น ความกลมกลืน, ความสมดุล, ความสวยงาม, การแสดงออก ซึ่งมีอยู่ในงานศิลปะของจริงนั้น แม้ว่าเราจะรู้ว่าเป็นของปลอมแล้ว แต่มันก็ยังคงมีลักษณะทางสุนทรียภาพนี้อยู่ด้วย แต่ว่าคุณค่าทางศิลปะ นั้นเราจะมองจาก สุนทรียภาพอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องให้เกียรติ์แก่ศิลปินผู้ที่สร้างด้วย ซึ่งกว่าที่จะสร้างสรรค์ออกมานั้น ต้องผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ จนออกมาเป็นผลงานให้เราได้เห็นกัน
ซึ่งกระบวนการสร้างสรรค์นั้น ก็ได้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่แก่ศิลปิน และสังคมด้วย ซึ่งจะทำให้ศิลปะมีค่าได้นั้น ก็อยู่ที่การสร้างสรรค์นี่เอง ที่ของปลอมไม่สามารถมีได้ เราจึงให้เกียรติ์แก่ ผู้ที่สร้างสรรค์ศิลปะที่แท้จริง(real) และ ความเป็นต้นฉบับ(original) นี้มากกว่า
ของปลอมที่แม้จะมีสุนทรียภาพ แต่ก็ขาดการสร้างสรรค์ และความซื่อสัตย์ ผิดศีลธรรม เราจึงไม่ให้เกียรติ์ของปลอม
ซึ่งการที่เราเห็นคุณค่าของศิลปะ ระหว่าง ของจริงกับของปลอม ก็มาจากการ เปรียบเทียบ จากสิ่งที่เราได้รู้มาแล้ว ไม่ใช่แค่เห็นอย่างเดียวเท่านั้น
และในงานศิลปะที่มีกระบวนการสร้างนั้น ศิลปินก็ได้ผ่านการทำงาน จนสามารถเห็นปัญหา, แก้ปัญหา, จนข้ามอุปสรรค, และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ดีเหมาะสมกับงาน ซึ่งกว่าจะออกมาเป็น ศิลปะวัตถุ ให้เราได้เห็นกันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะสามารถค้นพบ และหาแนวทางของตนเอง เพื่อนำเสนอความเป็นตัวของตัวเองออกมา(Individual) ร่วมกับค่านิยมทางสังคมที่ยอมรับกัน จึงจะออกมาเป็นศิลปะที่มีคุณค่าได้ และของปลอมนั้นก็ไม่ได้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ศิลปินได้พบ และของปลอมก็ไม่ได้นำเสนอความรู้ใหม่ ให้แก่คนและสังคม มันจึงเป็นแค่การลอกเลียนแบบ ที่มาจากของจริงเท่านั้น เราจึงให้เกียรติ์แก่ ของจริง มากกว่า ของปลอม
ข้าพเจ้าคิดว่า เรื่องราวระหว่างของจริงกับของปลอมนี้ มันก็อยู่ที่ว่ามนุษย์เราล้วนไม่ชอบการโกหกหลอกลวงนั่นเอง ถ้าจะเอางานศิลปะที่เป็นของปลอมมาแสดงในพิพิธภัณฑ์ ก็น่าจะบอกให้เรารับรู้ว่ามันไม่ใช่ของจริง ที่นี้ก็เป็นสิทธิ์ของเราแล้วว่าอยากจะดู หรือว่ารับไม่ได้ไม่อยากดูศิลปะที่ไม่ใช่ของจริงนี้ ดีกว่าถ้ามารู้ภายหลังว่าเป็นของปลอม แม้ว่าเราจะเคยชื่นชม ได้รับความสวยงามเพลิดเพลินในด้านสุนทรียภาพจากมัน แต่ก็มีบางอย่างที่เสียไป คือ รู้สึกว่าเสียความรู้สึก มันทำให้เราคิดว่าเราโง่ โดนหลอก มันก็คือการที่ไม่ให้เกียรติ์กัน ตั้งใจที่จะหลอกลวง เมื่อเรารู้แล้วว่ามันเป็นของปลอม คนดูก็เลยรู้สึกว่าจะต้องโต้ตอบกลับไปเช่นเดียวกันอย่างสาสม คือ ก็ไม่ให้เกียรติ์แก่งานชิ้นนั้นเช่นกัน สมควรที่จะเอาออกจากพิพิธภัณฑ์เสีย มันจึงเป็นปฏิกิริยาของคนดูที่อยากโต้กลับไปโดยอัตโนมัติ เมื่อรู้ว่าโดนหลอกลวงให้ดูของปลอม ให้สูญเสียความรู้สึกที่จริงใจ ที่ไว้เนื้อเชื่อใจ แต่ถ้าเริ่มปรับใจ ทำใจให้ยอมรับกับมันได้ ก็ทำให้สามารถเห็นถึงสุนทรียภาพที่ยังคงมีอยู่ในงานนั้น ก็คือจะเห็นว่าศิลปะนั้นไม่ผิด แต่คนที่ตั้งใจหลอกลวงเป็นคนที่ผิดมากกว่า ถ้าจะเอาผิดก็น่าจะเอาผิดกับผู้นั้น ให้ออกมารับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้

2002 copyright by myARTery