บทบาทของ Mass Art ในชีวิตประจำวัน
Hight
Art และ Mass Art มันคืออะไร มันเหมือน หรือ
แตกต่างกันอย่างไร แม่ของข้าพเจ้าไม่เคยรับรู้
รู้แต่ว่าได้ส่งเสียให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสมาศึกษาหาความรู้เพื่อมีอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า
แต่ว่าวิชาที่ข้าพเจ้าเรียนก็เป็นวิชาเกี่ยวกับศิลปะ
ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Hight Art ซึ่งได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานของตนเองขึ้นมา
ด้วยทุนทรัพย์ของแม่ ข้าพเจ้าจึงอยากให้แม่ได้มีโอกาสชื่นชมผลงานของลูกสาวคนนี้บ้าง
แต่เมื่อนำผลงานให้แม่ดูครั้งใด แม่ก็บอกว่าดูไม่เห็นจะรู้เรื่องเลย
ภาพอะไรก็ไม่รู้สีเปรอะๆ แล้วแม่ก็หันไปดูโทรทัศน์ของแม่ตามเดิม
ข้าพเจ้าก็ขี้เกียจจะอธิบายให้แม่ฟัง ว่ามันเป็นมาอย่างไรกัน
ข้าพเจ้าจึงได้แต่เอางานไปเก็บ แล้วก็หันไปดูโทรทัศน์กับแม่
จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ Mass Art ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นสังคมของเรา
ในยุคสมัยของเราดูจะหลีกหนีไม่พ้น และต้องใช้ชีวิตร่วมกับมันอย่างเป็นปกติ
หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือว่ามันคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเราไปเสียแล้ว
ในเมื่อ Mass Art ก็คือ ผลที่มาจากเทคโนโลยี
อย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
โดยเฉพาะโทรทัศน์ด้วยแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นสื่อเพื่อส่ง
Mass Art ที่สามารถถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี
เพียงแค่เราอยู่ที่บ้าน เราก็สามารถใช้โทรทัศน์เป็นสื่อที่เสมือนหน้าต่าง
ที่เปิดออกสู่โลกใบใหญ่ ให้เราได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆมากมายจากในนั้น
ถ้าจะพูดให้ง่ายๆก็คือ ในยุคสมัยของเรานี้
เราอยู่กับมันตั้งแต่ยังเด็กก็ว่าได้ เพราะมันสามารถที่จะผลิต
เผยแพร่ กระจาย ได้เป็นจำนวนมาก ถูกออกแบบมาให้ง่ายและเร็วที่จะรับรู้และเข้าใจ
โดยในวัยเด็กเรารับรู้และเข้าใจในสิ่งที่ง่าย
เช่นการดูการ์ตูน ต่อมาเมื่อเราโตขึ้นเราก็สามารถที่จะรับรู้อะไรที่ยากขึ้น
ได้ตามลำดับของพัฒนาการ และสามารถเรียนรู้ได้ว่าสิ่งที่เราบริโภคนั้น
ดี หรือ ไม่ดี เพียงไร
ข้าพเจ้าคิดว่า โทรทัศน์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถถ่ายทอด
Mass Art สู่ผู้บริโภคจำนวนมาก ได้ทุกชนชั้นอาชีพ
โดยทำให้การเสพMass Artนี้ สามรถทำไปได้ร่วมกับการพักผ่อน
ภายในบ้าน ภายในพื้นที่ส่วนตัวของเราเอง และก็มีให้เลือกมากมาย
ว่าเราจะเลือกชมอันไหน แต่สิ่งที่จะหนีไม่พ้นกับการชมโทรทัศน์
ก็คือต้องมีโฆษณา ที่เป็นของคู่กัน เกื้อกูลกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตอนสมัยที่ข้าพเจ้ายังเด็กเวลาดูโทรทัศน์ข้าพเจ้าไม่อยากให้มีช่วงโฆษณาเลย
รู้สึกว่าเสียอารมณ์ ไม่ต่อเนื่องจากละครที่ดูอยู่
แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น ก็รู้สึกซึมซับและเป็นส่วนหนึ่ง
กับการได้ชมโฆษณา เพราะว่าเราได้เห็นมันออกอากาศ
สลับกับรายการต่างๆที่ดูอยู่ ถ้าวันไหนเปิดโทรทัศน์แล้วไม่มีโฆษณาก็คงรู้สึกแปลกไป
เพราะเดี๋ยวนี้การดูโฆษณา ก็เป็นเรื่องราวที่สนุก
น่าติดตามแฝงข้อคิดบ้างอย่าง หรือสามารถสร้างเสียงหัวเราะให้เราได้
แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาไม่กี่นาที ยิ่งถ้าดาราที่เราชอบเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยแล้วก็ยิ่งชอบไปกันใหญ่
ซึ่งวงการโทรทัศน์ก็ฉลาดมาก อย่างเช่นถ้าละครเรื่องไหนกำลังฉายอยู่
พอตัดโฆษณา ก็จะเป็นโฆษณาสินค้าที่พระเอก
นางเอก หรือตัวละครในนั้นเป็นพรีเซนเตอร์
ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราก็ใจอ่อน บางทีก็อยากจะใช้สินค้านั้นตามอย่างดาราที่เราชอบ
เหมือนเป็นการเชื่อมโยงจากMass Art สู่ Mass
product อีกทอดหนึ่งไปในตัว หรือไม่ก็อีกทีถ้าพระเอก
หรือนางเอกเป็นนักร้อง ก็ยังสามารถขายเทปเพลงประกอบละครนั้นได้อีก
เช่นละครเรื่อง หงส์ฟ้ากับสมหวัง ที่คุณก๊อต
จักรพรรณ์ อาบครบุรี นักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังเล่นเป็นนักร้องลูกทุ่งอีกที
ทำให้แฟนเพลงของคุณก๊อต ต่างก็เฝ้ารอดูละครเรื่องนี้
และเมื่อทางบริษัทออกเทปเพลงประกอบละครขึ้นมา
ก็หนีไม่พ้นอีกที่พวกเขาจะต้องซื้อเทปนั้นมาบริโภคอีกเช่นกัน
และจากนั้นก็โย่งไปใยไปสู่เพลงลูกทุ่งอีก
รายการเพลงก็จะนำเอาเพลงนี้มาให้ได้ชมได้ฟัง
เนื้อหาของ music vdo ก็เป็นเนื้อหาของละครเรื่องนี่อีกเช่นกัน
ทำให้ส่งผลโปรโมทไปสู่ละครอีกทีหนึ่งด้วย
หรือบางทีหนทางที่จะสามารถเป็นดารา นักร้องได้
ก็มาจากการได้เป็น พรีเซนเตอร์ของดาราวัยรุ่นทั้งหลายก็มี
มันจึงวนเวียนกันอยู่ภายในนี้ด้วย
แต่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็เป็นการตอบสนองต่อคนดูจำนวนมาก
ที่ต้องการพบความสนุก และการซ้ำ ในการชมโทรทัศน์
และการคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ตัวอย่างง่ายคือ ดารานำ พระเอก นางเอก ถ้าลองเอาคนที่ไม่สวยมาเล่น
คนดูก็จะต้องวิจารณ์กันต่างๆนา เพราะคนดูได้คาดหวังไว้แล้วในจินตนาการว่า
พระเอก นางเอก ต้องหล่อ ต้องสวย ยิ่งถ้าฝีมือการแสดงดี
และเป็นคนที่เขาโปรดปรานด้วยแล้ว ผู้บริโภคก็ยิ่งชอบไปกันใหญ่
อีกประเด็นการที่เราเอาละครเรื่องเก่าแล้วนำกลับมาสร้างใหม่
ก็จะเกิดการเปรียบเทียบอีก จากคนที่ได้ผ่านการชมในครั้งที่แล้วมาแล้วว่า
ของใหม่ หรือของเก่า จะดีกว่ากัน แต่ยังไงคนดูเหล่านั้นก็ยังคงบริโภคสิ่งเหล่านี้อยู่ดี
ไม่อย่างนั้นก็คงจะไม่มีการวิจารณ์ออกมา ว่าดีหรือไม่ดีเพียงใด
แม้ว่าบางทีเนื้อหาในนั้นมันจะซ้ำๆในละคร
แต่ก็เป็นสิ่งที่คนดูคุ้นเคยกับมันมาตั้งนาน
จนคนดูบางพวกก็บอกว่าเป็นละครน้ำเน่า ทำไมละครไทยถึงเป็นอยู่อย่างนี้
ข้าพเจ้าเห็นว่าพวกที่กล่าวเช่นนี้ คงเป็นพวกที่มีการศึกษาใช้สติปัญญา
ในการวิจารณ์เป็นอย่างมาก แต่เมื่อเทียบกับพวกชาวบ้าน
แม่ค้า พวกคนใช้แรงงานต่างๆ กลับไม่สนใจว่ามันจะน้ำเน่าอย่างไร
เคยพวกเขาได้ดู โทรทัศน์ ละคร หรือเรื่องราวที่เขาชอบ
ได้ดูดาราที่เขาชอบ ได้พักผ่อน จากภาระหน้าที่การงาน
เท่านั้นก็พอใจ แต่ละครที่ดูนั้นก็ได้แผงแง่คิดบางประการเอาไว้ให้เขาได้นำเป็นคิด
และประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ โดยบางทีเขาเหล่านั้นก็ไม่รู้ตัว
เพราะในละครเหล่านั้น ก็มีตัวอย่างที่แสดงให้ดูถึงสิ่งที่ดี
และสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในนั้น ให้เห็นผลของการกระทำว่ามันออกมาจะเป็นอย่างไร
ถ้าปฏิบัติตัวแบบนั้น แต่บางที่ผู้ชมก็ in
กับตัวละครมากไปหน่อยคนไหนพวกเขารัก ก็จะรัก
จะสงสารคอยเอาใจช่วย ให้ชนะอุปสรรคทั้งหลาย
จนในท้ายเรื่องสมหวังได้พบกับความสุข และผู้ที่รับบทเป็นตัวร้ายก็จะพลอยโดนเกลียดไปอย่างช่วยไม่ได้
บางทีการที่คนดูเอาใจช่วยตัวละครให้ฝ่าฟันอุปสรรค
จนพบความสุข ได้อยู่กับคนที่รักนั้น ก็เสมือนกับการที่ผู้ดูนั้น
ก็อยากจะให้ในชีวิตของเขาเองได้รับความสุข
ในจุดหมายปลายทางของชีวิตเหมือนกัน ซึ่งละครนั้นก็เหมือนกับการนำเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ของชีวิตคนมาถ่ายทอด
บางทีอาจจะไปตรงกับความรู้สึกของผู้ดูคนไหน
หรือบางอย่างในชีวิตจริงของผู้ดูอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น
ทำสถานการณ์แบบนั้นไม่ได้ แต่ในละครอาจจะทำได้
ทำให้ผู้ชมได้ปลดปล่อยอารมณ์ ความรู้สึกร่วมออกมา
ข้าพเจ้าจึงคิดว่ามันเป็นการแบ่งปัน ประสบการณ์ให้กัน
และกัน มันจึงเป็นเสน่ห์ให้ผู้ชมคอยเฝ้าติดตามละครเรื่อยมา
แล้วถ้าเราบริโภค Mass Art ผ่านทางสื่อโทรทัศน์นั้น
ข้าพเจ้าคิดว่าบริบทของมันก็สำคัญ การที่เราได้เดินทางกลับบ้านเพื่อพักผ่อนจากหน้าที่การงาน
กินข้าว และแวดล้อมอยู่ในสถานภาพของคำว่าครอบครัว
ได้พักผ่อนด้วยการดูโทรทัศน์ พูดคุยร่วมกัน
จะนั่ง หรือนอนตรงที่ประจำของแต่ละคน บรรยากาศในนั้นมันก็อบอวลไปด้วยสายใยบางๆ
แม้ว่าบางทีดูแล้วความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน
เถียงกันบ้าง แย่งกันเปลี่ยนช่องบ้าง มันก็สนุกไปอีกแบบ
มีความสุขตามอัตตาภาพภายใต้หลังคาบ้านของเราเอง
ในตอนไหนที่เป็นเรื่องตลกเราก็จะหัวเราะร่วมกัน
แต่ถ้าเป็นฉากที่เศร้าต่างคนก็ต่างเงียบ จนถึงบางฉากที่บีบคั่นอารมณ์
จนต้องร้องไห้ ข้าพเจ้าก็ไม่กล้าร้องไห้ออกมาดังๆ
เหมือนตอนที่หัวเราะ ต่างแอบน้ำตาซึมเงียบๆ
เพราะกลัวโดนล้อจะหาว่าบ่อน้ำตาตื้น ดูละครแล้วร้องไห้
แต่ถ้าเวลาไหนที่ดูคนเดียวก็จะสามารถรับรู้และแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเปิดเผย
แต่สักพักอารมณ์ก็หายไปเพราะมีโฆษณามาสลับรายการพอดี
ยิ่งตอนนี้ข้าพเจ้ากำลังติดละครเรื่อง สงครามดอกรัก
ซึ่งนักแสดงก็สามารถถ่ายทอดได้ดี ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นละครที่ให้แง่คิดได้ดีมาก
สามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่าง ในการเรียนรู้ชีวิตได้
ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ได้ แล้วจะนำมาใช้ชีวิตได้อย่างไร
เหมือนที่เขาบอกว่า "ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว"
แต่ที่แน่ๆก็คือข้าพเจ้าได้เสียน้ำตาให้ละครเรื่องนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
แม้ว่ามันจะเป็นแค่ Mass Art ไม่ใช่ Hight
Art ก็ตามข้าพเจ้าก็คิดว้ามันเป็นผลงานศิลปะที่สำเร็จได้
ถ้ามันสามารถสื่อสารกับคนดู ให้รับรู้และเข้าใจได้ง่าย
ถึงเรื่องราวที่นำเสนอ ให้คนดูมีความรู้สึก
และอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวที่นำเสนอไปนั้น
ก็ถือว่าเข้าสื่อสารได้ดี ที่สามารถทำให้คนจำนวนมาก
รับรู้ได้ถึงเรื่องราว ที่ผู้กำกับและทีมงานต้องการบอก
สื่อสารออกไป
Walter
Benjamin
"ภาพยนตร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
ของปฏิกิริยาของคนชนชั้นสูง ที่มีการศึกษาต่อ
popular art ชนชั้นสูงมักดูแคลนภาพยนตร์ ว่าดึงดูดผู้ชมราวกับ
แมงดาที่ล่อลวงคนให้ซื้อบริการโสเภณี"
ข้าพเจ้าคิดว่าการที่ Benjamin มองภาพยนตร์ในลักษณะนี้
เพราะเขามีความเชื่อในทฤษฎี Marxist จึงทำให้มองเห็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างชนชั้นในศิลปะ
ซึ่งคนชนชั้นสูง ก็จะนิยม high art ทำให้พวกเขาดูแคลนว่า
mass art / popular art ที่เป็นของคนธรรมดา
ในที่นี้เราจึงใช้ movies เป็นตัวแทนที่ชี้ให้เห็น
ถึงความขัดแย้งนี้
ถ้าย้อนไปมองดู ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์
เราจะเห็นได้ว่า มันผลิตออกมาเพื่อรับใช้
คนทั่วไป กรรมกร ผู้ที่มีการศึกษาน้อย เพื่อที่จะใช้ในการผ่อนคลาย
และเป็นการรับรู้ เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว
แต่พวกชนชั้นสูง ที่มีการศึกษาดี รวมไปถึงนักวิจารณ์
ที่ส่วนใหญ่ก็นิยม high art จึงคิดว่าภาพยนตร์
เป็นสิ่งที่ไม่ดี ชักชวน ยั่วยุ ยั่วยวน ให้ผู้ดึงดูพึงพอใจ
สนใจ ในสิ่งที่ไม่ดี หยาบ ผิดศีลธรรม เป็นสิ่งต้องห้ามของสังคม
(movies = pander) โดยในภาพยนตร์นั้น จะนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับ
erotic สอดแทรกไปด้วย ซึ่งเป็นการ shock คนดู
ทำให้เกิดการรับรู้ ซึ่งในการที่เรารับรู้ภาพยนตร์นั้น
ก็เป็นการรับรู้ที่พิเศษ โดยที่ร่างกายของเรา
จะใช้เวลาจดจ่อในการดูภาพยนตร์ ทำให้เราเห็นการเคลื่อนไหวต่างๆ
ที่ดำเนินไป ด้วยขนาดของจอหนังที่ใหญ่ ทำให้เรารับรู้ได้ถึง
space และมิติที่3 ในการชม ซึ่งเป็นการเข้าใจของร่างกาย
เหมือนกับว่าเรามีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นด้วย
แล้วการที่ภาพยนตร์สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู
ได้ก็เพราะสาเหตุนี้ ซึ่งแม้แต่ผู้ที่มีรสนิยมดี
ชนชั้นสูง ก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หากต้องอยู่ในสภาวะนี้
ที่เหมือนกับคนอื่นๆทั่วไป จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า
ทำไมภาพยนตร์ ถึงได้รับความนิยม
จากการที่ข้าพเจ้าศึกษา mass art / popular
art ก็พบว่า เพราะเริ่มแรกก็เป็นการนำเสนอ
เรื่องที่ง่ายและเร็วต่อความเข้าใจ ทำให้ผู้ดูเกิดความพอใจ
ซึ่งในนั้นก็มีธรรมเนียมต่างๆในสังคม ซึ่งก็เป็น
ready made ที่แทรกอยู่ จึงทำให้คนเข้าใจได้ง่าย
แต่พอต่อมาก็เริ่มมีการเข้าใจที่ยาก ซึ่งเป็นการ
shock คนดู ให้กลับไปคิดว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้
จากที่เคยเข้าใจง่ายมาโดยตลอด แล้วบางทีก็มีการใช้
erotic ในการนำเสนอ ซึ่งเป็นการชักชวนให้ประชาชน
พอใจในสิ่งที่สังคมต้องห้าม ร่วมกับการรับรู้ที่ต้องใช้ร่างกาย
ประสาทสัมผัสของเรา เข้าไปรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น
จึงทำให้พวก high art คนชั้นสูง นักวิจารณ์
ต่างไม่พอใจใน popular art ซึ่ง Benjamin
ก็ได้เห็นถึงความขัดแย้ง และปฏิกิริยา ของชนชั้นสูงนี้
แต่ Benjamin ก็ได้เสนอ movies ในแง่ของที่เป็น
pander ต่อประชาชน และพูดถึงการรับรู้เท่านั้น
ซึ่งเขาไม่ได้พูดถึงในแง่ของ เนื้อหา เลย
แต่จากสิ่งที่ภาพยนตร์นำเสนอ ก็มีทั้งความพอใจ
และ ปัญญา สิ่งมีค่า บางอย่างอยู่ในนั้น ที่เมื่อเรารับรู้
และเข้าใจได้นั้น จึงทำให้เราได้อะไรมากกว่า
การชมภาพยนตร์เพื่อความบันเทิง นี่เองจึงเป็นเสน่ห์
ให้คนชอบดูภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน
|